วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์การพัฒนา

3654

วิสัยทัศน์

“ท่าผา เมืองน่าอยู่ เคียงคู่เศรษฐกิจพอเพียง รุ่งเรืองวัฒนธรรม นำประเพณีท้องถิ่น สานศิลป์หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิค”

พันธกิจ

“มุ่งสู่เมืองน่าอยู่ ภายใต้แนวปฏิบัติของมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

เทศบาลตำบลท่าผาได้กำหนดพันธกิจในการพัฒนาตำบล โดยการพัฒนาการบริหารจัดการให้พร้อมทุก ๆ ด้าน ดังนี้
1. พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม นำความรู้สู่ประชาชน ให้มีสุขภาวะที่ดี อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างดี มีศักดิ์ศรีภายใต้ดุลยภาพของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– พัฒนาบุคลากร และการบริหารงานบุคคล บนพื้นฐานหลักคุณธรรม
– พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งมิติ กาย จิต สังคม และปัญญา
– พัฒนาการบริหารจัดการของ เทศบาล ตามหลักธรรมาภิบาล
– ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ ให้สู่ความเป็นเลิศ
– พัฒนาระบบการจัดการศึกษาท้องถิ่น โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้
– ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้าน
– ส่งเสริมการพัฒนาการบริหารงานของ เทศบาล ให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้

2. การแก้ไขปัญหาความยากจน
– สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนในตำบล
– จัดการฝึกอบรมด้านอาชีพ
– จัดหาอาชีพเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงนอกฤดูการเก็บเกี่ยว
– สนับสนุนและอุดหนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ
– ส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ
– แก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
– ส่งเสริมให้ชุมชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การอนุรักษ์และพัฒนา พื้นที่แหล่งน้ำ คุณภาพน้ำ เพื่อให้เอื้อต่อการเกษตร และการ
พัฒนาอุตสาหกรรม
– ส่งเสริมตลาดสินค้าทางการเกษตร  เพื่อใช้วางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– ส่งเสริมขีดความสามารถให้คนจนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยให้คนจนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา ร่วมตัดสินใจ และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
– จัดให้มีสวัสดิการชุมชน การพัฒนาอาชีพ เพื่อช่วยเหลือให้คนยากจนและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
– จัดตั้งศูนย์ข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับความยากจน ผู้ด้อยโอกาส และให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนยากจนในพื้นที่เป้าหมาย
– ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีศักยภาพมากขึ้น

3. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ
– พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ครอบคลุม ทั่วถึง ได้มาตรฐาน
– จัดทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อการเกษตร
– ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์
– รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำในตำบลให้สะอาด
– จัดให้มีน้ำอุปโภค และบริโภคที่เพียงพอ และสะอาดต่อการอุปโภคและบริโภค

4. การพัฒนาด้านสาธารณสุข
– ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง
– รณรงค์ให้ประชาชนออกกำลังกาย
– ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคให้สะอาดเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
– จัดทำแผนงานด้านสุขภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– ดูแลตรวจสอบศักยภาพของสถานบริการด้านสุขภาพที่อยู่ในตำบลให้มี คุณภาพ
– พัฒนาสถานีอนามัยให้สามารถรองรับผู้เจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– จัดสวัสดิการ อุดหนุนเบี้ยยังชีพคนชรา ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้พิการ
– จัดอบรมเยาวชนเกี่ยวกับยาเสพติด

5. การพัฒนาศาสนาและวัฒนธรรม
– สืบสานและฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
– ส่งเสริมชุมชน องค์กรท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเพณีและ
– วัฒนธรรมท้องถิ่น
– ส่งเสริมให้นำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบล
– ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาในหน่วยงานท้องถิ่น และเอกชน
– พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาอย่างแท้จริง
– ส่งเสริมให้ประชาชน เยาวชน ในตำบลมีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนา

6. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– ส่งเสริมการปลูกป่า และฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม ให้มีความอุดมสมบูรณ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
– ส่งเสริมให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการจัดแยกขยะ และกำจัดขยะอย่างถูกวิธี และลดปริมาณขยะมูลฝอย
– รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับการแยกขยะ การนำขยะมา รีไซเคิล
– กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านตนเอง
– รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดของชุมชน
– จัดหาถังขยะไว้อย่างเพียงพอ
– จัดสร้างสวนสาธารณะประจำตำบล
– จัดอบรมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
– รณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันดูแลรักษาริมฝั่งแม่น้ำวังให้สะอาด สวยงาม

7. การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงาน
– สร้างความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ให้กับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยการผลักดันให้
เกิดกระบวนการเรียนรู้ ปรับวิธีคิด ทัศนคติ ค่านิยม เกิดความตระหนัก เข้าใจและสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
– นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเมือง และการปกครอง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนบริหารราชการแผ่นดิน และความต้องการของชุมชน
– ส่งเสริมสนับสนุนแนวคิดแบบพึ่งตนเอง และแบบเศรษฐกิจพอเพียง
– ส่งเสริมการทำการเกษตรแบบผสมผสานเกษตรทางเลือกใหม่และเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
– ส่งเสริมการทำเกษตรแนวใหม่

8. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
– สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การปกครองระบบประชาธิปไตย
– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสังคม ในการพัฒนาองค์กร ให้เป็นองค์กรที่มีสันติสุข
– ส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและหลักกฎหมาย จริยธรรม และความสมานฉันท์เป็นแนวทางหลักการพัฒนาองค์กร
– ส่งเสริมบทบาทของทุกภาคส่วน ในการสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความสมานฉันท์
– ส่งเสริมการประชุม ประชาคม หมู่บ้าน / ตำบล ให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด
– ส่งเสริมการบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน มีกระบวนการจัดการองค์ความรู้และระบบเรียนรู้ของชุมชนอย่างเป็นขั้นตอนมี เครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน มีกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ ชุมชนในการนำไปสู่การพึ่งตนเอง รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง
– สนับสนุนการจัดทำและใช้แผนระดับต่าง ๆ ที่สอดรับและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของ เทศบาล โดยเฉพาะกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และกระบวนการจัดทำแผนชุมชน เพื่อสร้างการบูรณาการและความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติงานร่วมกันของภาคีการพัฒนาอย่างบังเกิดผล

9. พัฒนาด้านเทคโนโลยี ให้ทันสมัยต่อการบริหารจัดการและการบริการประชาชนให้เพียงพอ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในการทำงานและการบริการให้สะดวก และทั่วถึง โดย
-ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
-จัดหา วัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยีให้อย่างทั่วถึง
-ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการในรูปแบบต่าง เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
-สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกระดับ และเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร
ระหว่างองค์กร จังหวัดและชุมชน เพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมสังคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีความอยู่ดีมีสุข
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
2. การส่งเสริมการกีฬา
3. ให้บริการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
4. การรักษาความสงบเรียบร้อย/การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมความมั่นคงทางวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
1.ส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน
แนวทางการพัฒนา
1.การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน/ส่งเสริมระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.ส่งเสริมการศึกษาให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาล
3.ปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน
4. การพัฒนาบุคลากร

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการพัฒนา
1.การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
2.ส่งเสริมแหล่งเงินทุน /การจัดตั้งกองทุน
3.พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ-สิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
1.การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.การอนุรักษ์ ฟื้นฟู เฝ้าระวัง และการป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1.ก่อสร้าง บำรุงรักษา อาคาร ถนน ท่อ/รางระบายน้ำ พนังป้องกันตลิ่ง ลานกีฬา ลานเอนกประสงค์
2.ปรับปรุง / ขยายเขตไฟฟ้า / ขยายเขตประปา พัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
3.ส่งเสริม/สนับสนุนงานผังเมือง
4.ก่อสร้าง บำรุงรักษาแหล่งน้ำ คู คลอง หนอง บึง